ประวัติโรงเรียนศึกษานารีวิทยา
Suksanareewittaya School
โรงเรียนศึกษานารีวิทยา มีชื่อเดิมว่าโรงเรียนศึกษานารี ๒ (ประสงค์-สุดสาคร ตู้จินดา)โดยศาสตราจารย์แพทย์หญิงสุดสาคร ตู้จินดา บริจาคที่ดินให้สร้างโรงเรียน มีเนื้อที่ ๑๒ ไร่ ๓ งาน ๒ ตารางวา เพื่อ สร้างโรงเรียนมัธยมชานเมือง ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ มีนางสาวพยอม อ่อนอุดม และนางพงษ์ศรี วิทยานนท์ เป็นผู้เตรียมเรื่องเพื่อสร้างโรงเรียนศึกษานารี ๒ ต่อมานายดรุณ ศุภาหาร บริจาคที่ดินรูปชายธงเนื้อที่ ๑ ไร่ ซึ่งอยู่ด้านหน้าโรงเรียนเพื่อให้โรงเรียนมีบริเวณกว้างขวางขึ้น สมาคมผู้ปกครองและครูฯ ซื้อเพิ่มอีก ๑๕๔ ตารางวา รวมเนื้อที่ของโรงเรียน ๑๔ ไร่ ๕๖ ตารางวา
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งโรงเรียนเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นโรงเรียนสหศึกษา
- ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นปีการศึกษาแรก โรงเรียนเปิดสอน ๖ ห้องเรียน โดยรับนักเรียนมาจากโรงเรียนศึกษานารี ๔ ห้องและฝากเรียนไว้ที่ศึกษานารี ส่วนอีก ๒ ห้อง เปิดรับสมัครที่วัดบางบอนโดยใช้อาคารไม้ชั้นเดียวของโรงเรียนวัดบางบอนเป็นที่เรียน มีครู ๙ คน ทุกคนต้องสอนทั้งที่ศึกษานารี และวัดบางบอน
- ปีการศึกษา ๒๕๒๒ จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น ๔๑๔ คน ๑๐ ห้องเรียนและย้ายนักเรียนทั้งหมดมาเรียนที่โรงเรียนวัดบางบอน มีครู ๓๑ คน นักการภารโรง ๒ คน
- ปีการศึกษา ๒๕๒๓เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนศึกษานารีวิทยา ใช้อักษรย่อ "ศ.ว." มีอาคารเรียนเป็นอาคารชั่วคราว ๒๑ ห้องเรียน รับนักเรียนม.๑ เพิ่มขึ้นเป็น ๘ ห้องเรียน
- ปีการศึกษา ๒๕๒๔ เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน ๒ ห้องเรียน มีจำนวนห้องเรียนรวม ๒๓ ห้องเรียน นักเรียน ๙๒๔ คน ครู ๕๐ คน นักการภารโรง ๕ คน
- ปีการศึกษา ๒๕๒๕ เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน ๒๕ ห้องเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน ๔ ห้องเรียน รวม ๒๙ ห้องเรียน มีนักเรียน ๑,๑๖๐ คน ครู ๕๐ คน นักการภารโรง ๕ คน
- ปีการศึกษา ๒๕๔๔ โรงเรียนศึกษานารีวิทยาได้เช่าที่ ๑๑ ไร่ เพื่อทำเป็นลานกีฬาและเกษตรผสมผสาน ในราคาเช่าปีละ ๕,๐๐๐ บาท
- ปีการศึกษา ๒๕๔๗ โรงเรียนศึกษานารีวิทยาใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ทุกระดับชั้น มีจำนวนห้องเรียน ๖๕ ห้อง มีนักเรียน ๓,๑๖๒ คน ครู ๑๐๙ คน นักการภารโรง ๑๔ คน ผอ.สุธน เรืองเดช ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนนวมิทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล ผอ.แสงทอง ธัญญโกเศศสุข ย้ายมาดำรงตำแหน่งแทน
- ปีการศึกษา ๒๕๔๘ มีจำนวน ๖๔ ห้องเรียน มีนักเรียน ๓,๐๔๒ คน ครู ๑๑๑ คน
- ปีการศึกษา ๒๕๔๙ มีจำนวน ๖๑ ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียน ๒,๙๔๓ คน ครู ๑๑๔ คน
- ปีการศึกษา ๒๕๕๐ มีจำนวน ๖๐ ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียน ๒,๘๖๔ คน ครู ๑๑๒ คน ผอ.แสงทอง ธัญญโกเศศ-สุข ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดนวลนรดิศ ผอ.สุธน เรืองเดช ย้ายกลับมาดำรงตำแหน่งแทน
- ปีการศึกษา ๒๕๕๑ มีจำนวน ๖๐ ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียน ๒,๙๑๗ คน ครู ๑๑๒ คน
- ปีการศึกษา ๒๕๕๒โรงเรียนศึกษานารีวิทยาเป็นโรงเรียนพร้อมใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑ มี ๖๐ ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียน ๒,๙๕๔ คน ครู ๑๐๕ คน
- ปีการศึกษา ๒๕๕๓ มีจำนวน ๖๐ ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียน ๒,๘๖๘ คน ครู ๑๒๖ คน
- ปีการศึกษา ๒๕๕๔ เริ่มใช้หลักสูตรมาตรฐานสากล (world class standard school) และเปิดห้องเรียนพิเศษความเป็นเลิศวิชาการ ( วิทย์ – คณิต ) มีจำนวนห้องเรียนทั้งหมด ๖๐ ห้องเรียน นักเรียน ๒,๗๑๑ คน ครู ๑๓๒ คน
- ปีการศึกษา ๒๕๕๖ เปิดห้องเรียนพิเศษความเป็นเลิศทางภาษาเพื่อสนับสนุนโครงการ EIS ทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น – ตอนปลาย มีจำนวนห้องเรียนทั้งหมด ๖๔ ห้องเรียน นักเรียน ๒,๗๙๗ คน ครู ๑๓๙ คน
- ปีการศึกษา ๒๕๕๗ โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความโดยใช้รูปแบบพหุระดับ และ STEM Education ( สะเต็มศึกษา ) มีจำนวนห้องเรียน ๖๗ ห้องเรียน นักเรียน ๒,๙๕๒ คน ครู ๑๔๒ คน
- ปีการศึกษา ๒๕๕๘ โรงเรียนศึกษานารีวิทยาร่วมกับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เปิดแผนการเรียน ธุรกิจค้าปลีก ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ และเข้าร่วมโครงการ Energy Mind Award ๒๐๑๕ ของการไฟฟ้านครหลวง มีจำนวนห้องเรียนทั้งหมด ๖๙ ห้องเรียน นักเรียน ๒,๘๕๐ คน ครู ๑๕๓ คน
- ปีการศึกษา ๒๕๕๙ โรงเรียนเปิดหลักสูตรทวิศึกษา โดยร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม เปิดแผนการเรียนช่างอุตสาหกรรม(ช่างยนต์)และวิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรีเปิดแผนการเรียนพณิชยการ (บัญชี) มีนักเรียนทั้งหมด ๒,๙๐๗ คน ครู ๑๕๗ คน
- ปีการศึกษา ๒๕๖๐ มีจำนวนห้องเรียน ๗๑ ห้องเรียน จำนวนนักเรียนทั้งหมด ๒,๙๘๒ คน ครูจำนวน ๑๕๗ คน
- ปีการศึกษา ๒๕๖๑ มีจำนวนห้องเรียน ๗๑ ห้องเรียน จำนวนนักเรียนทั้งหมด๒,๘๖๐ คน ครูจำนวน ๑๕๘ คน
- ปีการศึกษา ๒๕๖๒ เปิดห้องเรียนพิเศษความเป็นเลิศทางด้านเทคโนโลยี ( SMART GEN ) ชั้นม. ๑ มีจำนวนห้องเรียน ๗๒ ห้องเรียน จำนวนนักเรียนทั้งหมด 2,883 คน ครูจำนวน 161 คน
ทำเนียบผู้บริหาร
๑. |
ผอ.พยอม |
อ่อนอุดม |
พ.ศ.๒๕๒๑ ถึง พ.ศ.๒๕๒๙ |
๒. |
ผอ.สุมาลี |
รัตนปราการ |
พ.ศ.๒๕๒๙ ถึง พ.ศ.๒๕๓๑ |
๓. |
ผอ.เจริญ |
ทั่งทอง |
พ.ศ.๒๕๓๑ ถึง พ.ศ.๒๕๓๔ |
๔. |
ผอ.พะนอ |
จันทวงศ์ |
พ.ศ.๒๕๓๔ ถึง พ.ศ.๒๕๓๕ |
๕. |
ผอ.จงอาง |
กล้องเจริญ |
พ.ศ.๒๕๓๕ ถึง พ.ศ.๒๕๓๙ |
๖. |
ผอ.ทม |
กุสุมา ณ อยุธยา |
พ.ศ.๒๕๓๙ ถึง พ.ศ.๒๕๔๐ |
๗. |
ผอ.ชวาล |
ศรีพลาย |
พ.ศ.๒๕๔๐ ถึง พ.ศ.๒๕๔๒ |
๘. |
ผอ.สุธน |
เรืองเดช |
พ.ศ.๒๕๔๒ ถึง พ.ศ.๒๕๔๗ |
๙. |
ผอ.แสงทอง |
ธัญญโกเศศสุข |
พ.ศ.๒๕๔๗ ถึง พ.ศ.๒๕๕๐ |
๑๐. |
ผอ.สุธน |
เรืองเดช |
พ.ศ.๒๕๕๐ ถึง พ.ศ.๒๕๕๒ |
๑๑. |
ผอ.ไพโรจน์ |
สุวรณภัคดี |
พ.ศ.๒๕๕๓ ถึง พ.ศ.๒๕๕๔ |
๑๒. |
ผอ.ประเสริฐ |
ผุดผ่อง |
พ.ศ.๒๕๕๔ ถึง พ.ศ.๒๕๕๕ |
๑๓. |
ผอ.สุพจน์ |
หล้าธรรม |
พ.ศ.๒๕๕๕ ถึง พ.ศ.๒๕๕๘ |
๑๔. |
ผอ.ปรีชา |
ชูเชิด |
พ.ศ.๒๕๕๘ ถึง พ.ศ.๒๕๖๑ |
๑๕. |
ผอ.นฤภพ |
ขันทับไทย |
พ.ศ.๒๕๖๑ ถึง ปัจุบัน |
วิสัยทัศน์
โรงเรียนศึกษานารีวิทยา โรงเรียนคุณภาพบนวิถีใหม่เชิงสร้างสรรค์ ก้าวสู่ความเป็นพลเมืองดิจิทัล
อัตลักษณ์
วินัยงาม ความรู้ดี
ปรัชญาของโรงเรียน
คำขวัญประจำโรงเรียน